มีน้องหลายคนมาถามพี่บัสถึงโจทย์ข้อสอบ “สอบ ก.พ.” เรื่องเงื่อนไขสัญลักษณ์ เพราะมีความสับสนเกี่ยวกับการตอบโจทย์ และหลักในการคิดอย่างมาก เมื่ออยู่ในห้องสอบจริงจะทิ้งข้อสอบในส่วนนี้ไปก็น่าเสียดาย เพราะมีสถิติอัตราส่วนออกข้อสอบมากที่สุดในข้อสอบ “สอบ ก.พ.” ครั้งล่าสุดของปี 2563!!
เมื่อรู้อย่างนี้พี่บัสเลยอยากชวนน้องมาทำความเข้าใจ และตะลุยโจทย์เรื่องเงื่อนไขสัญลักษณ์กันหน่อย เพราะนี่คือจุดที่น้องอาจทำคะแนนได้ไม่มากก็น้อย และอาจเป็นจุดตัดสินการ “สอบ ก.พ.” ผ่าน ของน้องบางคนเลยก็ได้
หลักการตอบในข้อสอบ “สอบ ก.พ.” เงื่อนไขสัญลักษณ์
เงื่อนไขสัญลักษณ์ เป็นเรื่องที่ “สอบ ก.พ.” ทุกปี ในโจทย์จะแสดงเงื่อนไขที่ประกอบด้วยตัวอักษรต่างๆ และเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ เช่น =, ≠, >, ≯, <, ≮, ≥ และ ≤ จากนั้นจึงให้ข้อสรุปมาเป็นคู่ เพื่อให้พิจารณาว่า ข้อสรุปคู่ดังกล่าวถูกต้องตามเงื่อนไขที่โจทย์กำหนดมาหรือไม่ โดยหลักการตอบคำถามมีดังนี้ครับ
ให้ตอบ ข้อ 1 ถ้า ข้อสรุปทั้งสอง ถูกต้องตามเงื่อนไข
ให้ตอบ ข้อ 2 ถ้า ข้อสรุปทั้งสอง ไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข
ให้ตอบ ข้อ 3 ถ้า ข้อสรุปทั้งสอง ไม่อาจสรุปได้แน่ชัดว่าถูกต้องตามเงื่อนไขหรือไม่
ให้ตอบ ข้อ 4 ถ้า ข้อสรุปข้อใด ข้อหนึ่งถูกต้อง ไม่ถูกต้อง หรือไม่แน่ชัด ซึ่งไม่เท่ากับอีกข้อสรุปหนึ่ง
จุดที่เน้นคำหนา คือเรื่องที่น้องต้องรอบคอบและเลือกคำตอบดีๆ ระวังอย่าเผลอเลือกผิด หรือสับสนเด็ดขาด ซึ่งถ้าเข้าใจหลักการแล้ว โจทย์เรื่องเงื่อนไขสัญลักษณ์นั้น ก็ไม่ยากเกินความสามารถของน้องที่เตรียมตัวมาพร้อมอย่างแน่นอน
เครื่องหมายในข้อสอบ “สอบ ก.พ.” เงื่อนไขสัญลักษณ์
สิ่งสำคัญที่สุดคือ การหมั่นทำโจทย์ให้คุ้นเคยกับสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อเห็นโจทย์แล้วสามารถแปลความหมายได้ทันที ทำโจทย์ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ
ก่อนอื่นให้น้องสังเกตดูว่า ในสัญลักษณ์ที่ยกมาก่อนหน้านี้ มีสัญลักษณ์บางตัวที่เราไม่ค่อยใช้ในชีวิตประจำวันปนอยู่ นั่นคือ ≯ และ ≮ หากโจทย์ข้อใดมีสัญลักษณ์ทั้งสองอย่างนี้ เราต้องแปลงเครื่องหมายกันก่อนตามหลักการดังนี้
≯ คือ เครื่องหมาย “ไม่มากกว่า” มีความหมายว่า “เท่ากับหรือน้อยกว่า” จึงเท่ากับเครื่องหมาย ≤
≮ คือ เครื่องหมาย “ไม่น้อยกว่า” มีความหมายว่า “เท่ากับหรือมากกว่า” จึงเท่ากับเครื่องหมาย ≥
ลำดับการพิจารณาเครื่องหมายในเงื่อนไขสัญลักษณ์ในข้อสอบ “สอบ ก.พ.”
หลังจากดูโจทย์แปลงเครื่องหมายที่ไม่คุ้นเสร็จแล้ว ขั้นถัดไปคือเชื่อมตัวแปรและหาตัวร่วมของเงื่อนไข ถ้าเครื่องหมายหลังการเชื่อมตัวแปรไปคนละทางให้ตอบว่า “ไม่แน่ชัด” แต่ถ้าเครื่องหมายหลังการเชื่อมตัวแปรไปทางเดียวกัน เรามีหลักการตอบโดยเลือกเครื่องหมายตามลำดับต่อไปนี้
1. ให้เลือกเครื่องหมาย <, > ก่อนเครื่องหมายอื่นๆ
2. ให้เลือกเครื่องหมาย ≤, ≥ เป็นลำดับต่อมา
3. ให้เลือกเครื่องหมาย = เป็นลำดับสุดท้าย
ตัวอย่างข้อสอบจริง “สอบ ก.พ.”
เมื่อพอรู้ลักษณะของโจทย์เงื่อนไขสัญลักษณ์ พร้อมกับมีเทคนิคหาคำตอบเรียบร้อยแล้ว ต่อไปมาดูตัวอย่างข้อสอบจริงจากสนาม “สอบ ก.พ.” กันเลยดีกว่าครับ
ผลงานการ “สอบ ก.พ.” ติด ของลูกศิษย์ครูพี่บัส
“สอบ ก.พ.” ผ่านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป!!
“ติวสอบ ก.พ.” แบบตรงจุด ครอบคลุมเนื้อหา และเจาะลึกทุกประเด็น ติวแบบเน้นประหยัดเวลาในการอ่านหนังสือ และทำข้อสอบให้ได้มากที่สุด เพราะพี่เข้าใจว่า น้องบางคนมีภารกิจ มีงานที่ต้องทำ มีครอบครัวเป็นแรงบันดาลใจ ดังนั้นการ “สอบ ก.พ.” ที่เป็นทั้งความตั้งใจ และเป็นความหวังของตัวน้องและครอบครัว ต้องเอาให้ผ่านให้ได้
ครูพี่บัส และครูพี่หวาน เป็นกำลังใจให้น้องทุกคน ทำให้เต็มที่ และสอบติดให้ได้นะครับ ถ้ามีปัญหาตรงไหนสอบถามพี่ทั้งสองได้ตลอด จะแชทหรือจะโทรมาปรึกษาพี่ก็ยินดีครับ