สำหรับการสอบ ก.พ. หรือการสอบเข้าทำงานเป็นข้าราชการนั้น หนึ่งในวิชาที่หลายๆคนกลัวคงจะหนีไม่พ้นวิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ที่รวมเนื้อหาของทั้งวิชาคณิตศาสตร์และภาษาไทย รวมถึงเป็นการสอบที่ค่อนข้างที่จะมีเนื้อหาแบบเจาะลึกเลยทีเดียว ซึ่งวันนี้พี่บัสอยากจะมาแนะแนวตัวอย่างข้อสอบวิชาความสามารถในการวิเคราะห์ รวมถึงแนะนำเทคนิคการทำข้อสอบ เพื่อเก็บคะแนนกันได้แบบเต็มๆเลยครับ
เลือกอ่าน...ตามหัวข้อที่คุณสนใจ
Toggleข้อสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ก.พ.
ในการสอบ ก.พ. ภาค ก นั้นจะประกอบไปด้วย 3 วิชาหลักที่เหล่าข้าราชการจำเป็นต้องทราบ คือวิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาอังกฤษและวิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี โดยมีกวลาในการทำรวมกัน 3 วิชา คือ 3 ชั่วโมง โดยน้องๆจะต้องจัดสัดส่วนเวลาในการทำข้อสอบให้ดี ซึ่งวิชาที่ควรใช้เวลาในการทำนานที่สุดก็คือ วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
- การคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ
- การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม
- การวิเคราะห์เชิงภาษา
โดยเกณฑ์การสอบผ่านวิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ก.พ. นั้น แบ่งเกณฑ์ได้ดังต่อไปนี้
- ระดับต่ำกว่าปริญญาตรีและปริญญาตรีนั้น จะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
- ระดับปริญญาโทต้องได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65
วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สอบอะไรบ้าง
ในการสอบ ก.พ. วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ก.พ. ซึ่งเป็นการสอบวิชาสามัญ คือ วิชาคณิตศาสตร์และภาษาไทยโดยจัดเป็นการสอบในภาค ก ซึ่งมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งออกเป็น
1.การคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เป็นการทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิง “คณิตศาสตร์เบื้องต้น” โดยประกอบไปด้วยเนื้อหาเรื่อง อนุกรมตัวเลข , ระบบจำนวนจริง , สมการ , พื้นที่และปรืมาตร , เปอร์เซ็นต์และร้อยละ , ห.ร.ม. , ค.ร.น. , อัตราส่วนและความน่าจะเป็น เป็นต้น
2.การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม
เป็นการใช้การวิเคราะห์เชิง “คณิตศาสตร์ร่วมกับภาษาไทย” โดยประกอบไปด้วยเนื้อหาเรื่อง การคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงคำ ข้อความหรือรูปภาพ ตลอดจนการหาข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ รูปภาพ สถานการณ์
3.การวิเคราะห์เชิงภาษา
เป็นการทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับทักษาการวิเคราะห์ “เชิงภาษา” โดยมีเนือ้หาอันประกอบไปด้วย การเรียงประโยค เพื่อเรียงลำดับการมาก่อน – หลัง ตามที่โจทย์กำหนดให้ รวมถึงการวิเคราะห์บทความ เพื่อทดสอบการจับใจความสำคัญ การสรุปความ การตีความจากบทความ ข้อความ หรือสถานการณ์ต่างๆ
แนวข้อสอบการคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ
ข้อที่ 1
โจทย์ 16, 32, 52, 88, 152, ?
เฉลย 1. 256
คำอธิบาย เป็นการคิดเลขด้วยการหาอนุกรมแบบ 3 ชั้น
ข้อที่ 2
โจทย์ อ้อยขายโทรศัพทย์มือสอง โดยตั้งราคาขายลดลงจากที่ซื้อมา 20% ปรากฏว่าขาดทุนไป 3,000 บาท ถามว่าอ้อยขายโทรศัพท์มือสองเครื่องนี้ไปกี่บาท
เฉลย 1. 12,000
คำอธิบาย เป็นโจทย์คณิตทั่วไป เรื่องการหากำไร – ขาดทุน
ข้อที่ 3
โจทย์ เวลา 18.14 น. เข็มสั้นและเข็มยาวทำมุมกันกี่องศา
เฉลย 4. 103 องศา
คำอธิบาย เป็นการคิดองศาของเข็มนาฬิกา โดยอ้างอิงข้อมูลจากเข็มยาวและเข็มสั้นของนาฬิกา
ข้อที่ 4
โจทย์ บอยนับจำนวนสัตว์ในฟาร์มได้ว่า ถ้านับหัวของกระจ่ายกับนกเป็ดน้ำรวมกันจะได้ 92 หัว แต่ถ้านับขาสัตว์ทั้งสองรวมกันจะได้ 260 ขา ถามว่าบอยมีกระต่ายอยู่กี่ตัว
เฉลย 1. 38 ตัว
คำอธิบาย เป็นเรื่องการคิดจำนวนขาสัตว์ พิจารณาโดยวิธีสร้างสมการ
ข้อที่ 5
โจทย์ อาร์มตั้งนาฬิกาปลุกสามเรือน โดยให้แต่ละเรือนปลุกทุก 20, 30, 35 นาที ตามลำดับ ถ้านาฬิกาทั้งสามเรือนปลุกพร้อมกันครั้งแรกไปเมื่อ 8.00 น. ถามว่าจะปลุกพร้อมกันในครั้งที่สาม ณ เวลาใด
เฉลย 4. 22.00 น.
คำอธิบาย เป็นวิธีการใช้การหา ค.ร.น. มาประยุกต์ใช้เพื่อหาคำตอบ
แนวข้อสอบการคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม
สำหรับข้อสอบการคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจวิธีการตอบโจทย์เสียก่อน โดยมีหลักในการตอบคำถาม ดังนี้
- ตอบข้อ 1. ถ้าข้อสรุปทั้งสอง ‘เป็นจริงตามเงื่อนไข’
- ตอบข้อ 2. ถ้าข้อสรุปทั้งสอง ‘ไม่เป็นจริงตามเงื่อนไข’
- ตอบข้อ 3. ถ้าข้อสรุปทั้งสอง ‘ไม่แน่ชัด’
- ตอบข้อ 4. ถ้าข้อสรุปทั้งสอง ‘มีข้อสรุปใดข้อสรุปหนึ่งที่เป็นจริง ไม่จริง หรือไม่แน่ชัด ซึ่งไม่ซ้ำกับอีกข้อสรุปหนึ่ง’
โดยใช้ข้อมูลต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อที่ 6-7
จากเงื่อนไข ให้ทุกตัวอักษรมีค่ามากกว่าศูนย์
- E ≰ F ≮ G = 2P > Q
- U > G < B ≯ D < A
ข้อที่ 6
โจทย์
ข้อสรุปที่ 1 U < D
ข้อสรุปที่ 2 3Q > P
เฉลย ตอบ 3
คำอธิบาย เนื่องจากข้อสรุปทั้งสองไม่แน่ชัด
ข้อที่ 7
โจทย์
ข้อสรุปที่ 1 5P > 2A
ข้อสรุปที่ 2 G ≥ D
เฉลย ตอบ 4
คำอธิบาย เนื่องจากข้อสรุปทั้งสองมีข้อสรุปใดข้อสรุปหนึ่งที่เป็นจริง ไม่จริง หรือไม่แน่ชัด ซึ้งไม่ซ้ำกับอีกข้อสรุปหนึ่ง
ข้อที่ 8
โจทย์ วุ้นเส้น : ถั่วเขียว = ? : ?
เฉลย 4. เต้าหู้ : ถั่วเหลือง
คำอธิบาย ใช้การพิจารณาจากความสัมพันธ์ของคำทั้ง 2 คำ ในที่นี้วุ้นเส้นทำมาจากถั่วเขียว เช่นเดียวกันกับเต้าหู้ที่ทำมาจากถั่วเหลือง
ข้อที่ 9
โจทย์ สันโดษ : โลภ = ? : ?
เฉลย 4. อดออม : ยากจน
คำอธิบาย ความสัมพันธ์ของคำทั้ง 2 คำ เป็นรูปแบบแนวคิดทางบวก : แนวคิดทางลบ
ข้อที่ 10
โจทย์ อุ่น : ร้อน = ? : ?
เฉลย 4. ฉลาด : อัจฉริยะ
คำอธิบาย รูปแบบการคิด คือ คำทางฝั่งขวาจะเป็นขั้นกว่าของคำทางฝั่งซ้ายมือ
แนวข้อสอบการคิดวิเคราะห์เชิงภาษา
การวิเคราะห์เชิงภาษา เป็นการทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการวิเคราะห์เชิงภาษา โดยมีเนื้อหาอันประกอบไปด้วย การเรียงประโยค เพื่อเรียงลำดับการมาก่อน – หลัง ตามที่โจืย์กำหนดให้ รวมถึงการวิเคราะห์บทความ เพื่อทดสอบการจับใจความสำคัญ การสรุปความ การตีความจากบทความ ข้อความ หรือสถานการณ์ต่างๆ
ข้อที่ 11
โจทย์ ข้อความในข้อใดเป็นลำดับที่ 4
- ตั้งแต่ให้ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รับผิดชอบกำจัดขยะพิษ
- นอกจากนี้ยังสร้างความตระหนักแก่คนทั่วไปในฐานะผู้บริโภคอีกด้วย
- ภาครัฐได้เสนอแนวทางควบคุมดูแลขยะพิษแบบครบวงจร
- และมีการออกกฏหมายเพื่อควบคุมดูแลการกำจัดขยะ
เฉลย 2. นอกจากนี้ยังสร้างความตระหนักแก่คนทั่วไปในฐานะผู้บริโภคอีกด้วย
คำอธิบาย เรียงข้อความจากรูปประโยคได้ดังนี้
3. ภาครัฐได้เสนอแนวทางควบคุมดูแลขยะพิษแบบครบวงจร > 4. และมีการออกกฏหมายเพื่อควบคุมดูแลการกำจัดขยะ > 1. ตั้งแต่ให้ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รับผิดชอบกำจัดขยะพิษ > 2. นอกจากนี้ยังสร้างความตระหนักแก่คนทั่วไปในฐานะผู้บริโภคอีกด้วย
ข้อที่ 12
โจทย์ ข้อความในข้อใดเป็นลำดับที่ 3
- ยาสมุนไพรเป็นยาที่ได้มาจากผลิตผลธรรมชาติอันมาจากพืช สัตว์ จุลชีพ
- ซึ่งเป็นยาที่มีสรรพคุณในการรักษาเช่นเดียวกับยาแผนปัจจุบันและไม่มีสารตกค้างกับร่างกาย
- เช่น ฟ้าทะลายโจรที่นิยมนำมาเป็นยาบรรเทาอาการไข้หวัด
- หรือแร่ ที่ใช้เป็นส่วนผสม ปรุง แล้วนำมาแปรสภาพเป็นยาสมุนไพร
เฉลย 2. ซึ่งเป็นยาที่มีสรรพคุณในการรักษาเช่นเดียวกับยาแผนปัจจุบันและไม่มีสารตกค้างกับร่างกาย
คำอธิบาย เรียงข้อความจากรูปประโยคได้ดังนี้
1. ยาสมุนไพรเป็นยาที่ได้มาจากผลิตผลธรรมชาติอันมาจากพืช สัตว์ จุลชีพ > 4. หรือแร่ ที่ใช้เป็นส่วนผสม ปรุง แล้วนำมาแปรสภาพเป็นยาสมุนไพร > 2. ซึ่งเป็นยาที่มีสรรพคุณในการรักษาเช่นเดียวกับยาแผนปัจจุบันและไม่มีสารตกค้างกับร่างกาย > 4. เช่น ฟ้าทะลายโจรที่นิยมนำมาเป็นยาบรรเทาอาการไข้หวัด
ข้อที่ 13
“พวกเราทุกคนควรช่วยกันประหยัดพลังงาน เพื่อจะได้มีพลังงานใช้ต่อไป เพราะถ้าเราไม่ประหยัด กิจการทุกอย่างในบ้านเมืองก็ชะงักงันไปหมด ความเดือดร้อนก็จะเกิดขึ้นทั่วไปทุกระดับของสังคม”
โจทย์ ข้อใดไม่ใช่เจตนาของผู้เขียน
เฉลย 4. ขอร้อง
คำอธิบาย จากบทความ ผู้เขียนไม่ได้แสดงเจตนาขอร้องให้ปรากฏในบทความ
ข้อที่ 14
“การคบเพื่อนนั้น ฐานะไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่จงดูที่นิสัยจิตใจว่าเขาเป็นคนอย่างไร อย่าให้ฐานะ ความร่ำรวย หรือจำนวนเงินทองเป็นสิ่งชี้นำแนวทางในการหาพันธมิตร เพราะเงินไม่อาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้คำว่า “เพื่อน” ยั่งยืนไปตลอดกาล”
โจทย์ จากบทความข้างต้น ข้อใดคือเจตนาของผู้เขียน
เฉลย 2. สอนให้เลือกคบคน
คำอธิบาย จากบทความ ผู้เขียนแสดงเจตนาเรื่องการสอนให้เลือกคบคนให้ปรากฏในบทความ
ข้อที่ 15
“เพราะควันท่อไอเสียรถยนต์, โรงงานไฟฟ้า, โรงงานอุตสาหกรรม, ควันจากการเผาขยะ, ไฟป่า รวมทั้งการทำปฏิกิริยาเคมีต่างๆ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์, ไนโตรเจนออกไซด์ และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหามลภาวะทางอากาศ เช่น PM 2.5 และเมื่อเกิดการสะสมไปนานๆ จะทำให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ สัตว์ พืช หรือทรัพย์สินต่างๆ อีกทั้งยังส่งผลกระทบโดยตรงกับระบบหายใจของสิ่งมีชีวิต”
โจทย์ จากบทความข้างต้น สรุปได้ว่าอย่างไร
เฉลย 1.
คำอธิบาย จากบทความ สรุปได้ว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหามลภาวะทางอากาศ คือควันท่อไอเสียรถยนต์ ไฟป่ารวมถึงการทำปฏิกิริยาเคมีต่างๆ
เทคนิคทำข้อสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์
สำหรับการทำข้อสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์นั้น เป็นวิชาที่หลายคนกลัว แต่อันที่จริงแล้วก็เป็นวิชาที่สามารถเก็บคะแนนได้ง่ายเลยทีเดียวหากน้องๆใช้ทักษาะความรู้ด้านการวิเคราะ์ทั้งเชิงตัวเลข และเชิงภาษามาช่วย โดยวันนี้พี่บัสจะมาแนะนำวิธีเตรียมตัวสอบ ก.พ. ที่จะทำให้น้องๆทำข้อสอบวิชานี้ไปได้อย่างสบายๆครับ
- ทำความเข้าใจกับโจทย์ : ว่าโจทย์ให้ข้อมูลอะไรมาบ้าง
- วิเคราะห์โจทย์ : ต้องทราบว่าโจทย์แล้วต้องการทราบอะไร
- แก้ไขปัญหา : โดยทำการแสดงวิธีทำอย่างเป็นลำดับขั้น เพื่อความถูกต้อง และหากเวลาเหลือ น้องๆสามารถนำคำตอบที่ได้มาตรวจทานอีกรอบ เพื่อป้องการการตกหล่นของข้อมูล
ข้อสรุป
ในการสอบสอบ ก.พ. ภาค ก หนึ่งในนั้นที่ประกอบไปด้วยข้อสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์นั้น เป็นหนึ่งในรายวิชาที่คะแนนค่อนข้างที่จะมากพอสมควร ซึ่งหากน้องทำได้ ก็จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ความฝันการทำงานในสายอาชีพข้าราชการเป็นไปได้ง่ายมากขึ้น
ซึ่งการสอบ ก.พ. เป็นการสอบที่มีผู้สมัครมากเลยทีเดียว และหากน้องยังไม่มั่นใจว่าต้องอ่านจุดไหนให้ตรงจุด พี่บัสจึงอยากแนะนำให้น้องมาลงคอร์สติวสอบ ก.พ. กับทาง Guru Academy โดยมีการตะลุยเนื้อหา เจาะลึกข้อสอบกฎหมาย ก.พ. ไปพร้อมกัน เพื่อสานฝันแก่ข้าราชการในอนาคตกันครับ สามารถแอดไลน์เพื่อติดต่อสอบถามและรับข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่น้องๆได้ที่ Line @gurugorpor