ทดลองเรียน ติวสอบราชการ ได้สายงานมูลค่า  590 บาท “ฟรี”

[คู่มือ] เตรียมตัว “สอบ ก.พ.” อย่างไร ให้ผ่านฉลุยในรอบเดียว ฉบับรวบรัด!

จะน้องใหม่สนามแรก หรือน้องเก่าที่รอวันสอบผ่าน มารวมกันตรงนี้เลยครับ!! พี่บัสมีเคล็ดลับการเตรียมตัวในการ “สอบ ก.พ.” อย่างไร ให้ผ่านฉลุยในรอบเดียว!! มาเล่าให้ฟัง เพราะนอกจากพวกเทคนิคลับ วิชามารที่ใช้ทำข้อสอบแล้วเนี่ย การเตรียมตัว “สอบ ก.พ.” รอบนี้ ยังมีอะไรที่น้องต้องรู้อีกบ้าง ไปดูกันเลยครับน้อง!!


ทำไมต้องเตรียมตัว “สอบ ก.พ.”

เท่าที่พี่บัสได้ติดตามการ “สอบ ก.พ.” ภาค ก ในแต่ละปีมานั้น บอกได้เลยครับว่า คนสอบผ่านกันน้อยมาก!! น้อยชนิดที่ว่านับนิ้วได้เลย เพราะแต่ละปีคนสอบผ่านไม่เกิน 6% ของผู้เข้าสอบทั้งหมดเลยน้อง หมายความว่ายังไง หมายความว่า “สอบ ก.พ.” กัน 100 คน สอบผ่านไม่ถึง 6 คน!! 

แต่น้องอย่าตกใจกลัวไปนะ เพราะถ้าน้องมีการเตรียมตัว “สอบ ก.พ.” ที่ถูกต้อง อ่านหนังสือเตรียมสอบ ก.พ. ที่ตรงจุด ตรงแนวข้อสอบ รู้จุดแข็ง แก้ไขจุดอ่อนของตัวเองได้แล้วล่ะก็ “ผู้ที่สอบผ่าน” ก็จะเป็นตัวน้องเองอย่างแน่นอน


10 ข้อเคล็ดลับ เตรียมตัว “สอบ ก.พ.” อย่างไร ให้ปัง!!

พี่บัสก็จะมาแชร์เคล็ดลับการเตรียมตัว “สอบ ก.พ.” ให้น้องๆ ได้รู้ จะได้เตรียมตัว และวางแผนอย่างถูกต้อง เหมาะสมกับน้องมากที่สุด และเกิดผลลัพธ์มากที่สุด มาดูกันเลยครับ

1. ตั้งเป้าหมายในการ “สอบ ก.พ.” ครั้งนี้

“สอบ ก.พ.” ก็คือตัวกลาง ในการคัดคนที่สอบผ่านไปบรรจุราชการใช่ไหมล่ะครับ

ดังนั้นน้องๆ ที่สนใจจะเข้า “สอบ ก.พ.” ลำดับแรกก็ต้องตั้งจุดมุ่งหมายของตัวเองก่อนนะว่า ลักษณะของงานที่อยากทำคืออะไร “อาชีพข้าราชการ” ที่ฝ่ฝันคืออะไร อยากบรรจุราชการในสังกัดไหน ตำแหน่งอะไร ตอบโจทย์กับสิ่งที่เราคาดหวังไว้ในใจหรือไม่ ถ้าใช่แล้วก็ลุยข้อต่อไปกันเลยครับ

2. ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการ “สอบ ก.พ.”

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ ในการเตรียมตัว “สอบ ก.พ.” คือน้องต้องรู้ก่อนว่า ก.พ. สอบไปเพื่ออะไร ซึ่ง ก.พ. เนี่ยมันเปรียบเสมือนเป็นตัวกลาง ในการคัดคนเพื่อบรรจุราชการ อย่างที่พี่บัสได้บอกไแล้วก่อนหน้านี้ ถ้าน้องอยากบรรจุราชการก็ต้องสอบ ก.พ. ให้ผ่านทั้ง 3 ภาคนะ คือ ภาค ก, ภาค ข และ ภาค ค ตามลำดับนี้ไป

แล้วแต่ละภาคมันแตกต่างกันยังไง พี่บัสสรุปคร่าวๆให้แบบนี้ครับว่า ภาค ก เสมือนเป็นประตูด่านแรกที่ต้องผ่านไปให้ได้ก่อน เป็นการสอบวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ต่อมาก็มาสอบ ก.พ. ภาค ข เป็นการสอบวัดความสามารถเฉพาะตำแหน่ง หน่วยงานนั้นๆ ก็จะจัดสอบตามตำแหน่งที่น้องสมัครไปเลยครับ และประตูด่านสุดท้ายก็คือ ภาค ค ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการสอบสัมภาษณ์ หรืออาจมีการทดสอบจิตวิทยาด้วยครับ

3. ทำความเข้าใจโครงสร้างข้อสอบ

พี่บัสจะพาน้องมาทำความเข้าใจโครงสร้างข้อสอบ “สอบ ก.พ.” ภาค ก กันครับ จะแบ่งออกเป็น 3 วิชา ได้แก่ วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์, วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี

  1. วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (คณิตศาสตร์และ ไทย)
    • มีข้อสอบทั้งหมด 50 ข้อ คิดเป็น 100 คะแนน
    • เนื้อหาที่สอบแบ่งเป็น 3 เรื่อง คือ การคิดวิเคราะห์เชิงภาษา (ไทย) การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม (คณิตศาสตร์) และการคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ (คณิตศาสตร์)
    • ปวช. ปวส. ปริญญาตรี ต้องได้คะแนน 60% ขึ้นไป (60 คะแนน) และปริญญาโท ต้องได้คะแนน 65% ขึ้นไป (65 คะแนน)
  1. ความสามารถทางภาษาอังกฤษ
    • มีข้อสอบทั้งหมด 25 ข้อ คิดเป็น 50 คะแนน
    • เนื้อหาที่สอบแบ่งเป็น 4 เรื่อง คือ Grammar, Conversation, Vocabulary, Reading ในระดับเบื้องต้น ระดับศัพท์พื้นฐานทั่วไป
    • ปวช. ปวส. ปริญญาตรี ปริญญาโท (ทุกระดับชั้น) ต้องได้คะแนน 50% ขึ้นไป (25 คะแนน)
  1. ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี
    • มีข้อสอบทั้งหมด 25 ข้อ คิดเป็น 50 คะแนน
    • ประกอบด้วยเนื้อหากฎหมาย 6 เรื่อง คือ
      1. ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 ในส่วนของความผิดต่อหน้าที่ราชการ
      2. พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และแก้ไขเพิ่มเติม
      3. พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และแก้ไขเพิ่มเติม
      4. พ.ร.บ. ความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
      5. พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และแก้ไขเพิ่มเติม
      6. พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562
    • ปวช. ปวส. ปริญญาตรี ปริญญาโท (ทุกระดับชั้น) ต้องได้คะแนน 50%ขึ้นไป (25คะแนน)

*** ข้อดีของการ “สอบ ก.พ.” ภาค ก ก็คือ มีขอบเขตเนื้อหาชัดเจน ทำให้น้องๆ สามารถเตรียมตัวได้ง่ายครับ

4. วิเคราะห์จุดแข็ง แก้ไขจุดอ่อนของตัวเอง

หลังจากน้องรู้แล้วว่า ขอบเขตของเนื้อหาข้อสอบที่เตรียมอ่าน “สอบ ก.พ.” ภาค ก. มีอะไรบ้าง โครงสร้างข้อสอบเป็นอย่างไร ทีนี้ก็ได้เวลาที่น้องต้องมาวิเคราะห์ตัวเองแล้วว่า เรามีจุดแข็งอะไร จุดอ่อนอะไร เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนได้อย่างทันท่วงที 

ตัวอย่างเช่น 

รู้ตัวว่าอ่อนด้านภาษาอังกฤษ ก็ต้องหมั่นทบทวนเนื้อหา ท่องศัพท์มากขึ้น รู้ตัวว่าคิดเลขช้า น้องก็ต้องหาสาเหตุละว่าเกิดจากเราไม่ค่อยได้ฝึกฝนคำนวณ การทดเลขบ่อยๆ รึป่าว ก็จะได้ไปหาทำข้อสอบในส่วนนี้ให้มากขึ้น เพื่อจะได้เกิดความชำนาญ ก็จะทำให้น้องคิดเลขได้รวดเร็วขึ้นได้

5. อ่านหนังสือ “สอบ ก.พ.”

เมื่อน้องวิเคราะห์ตัวเองเรียบร้อยแล้ว รู้แจ้งถึงจุดแข็ง จุดอ่อนของตัวเอง ก็ถึงเวลาทบทวนเนื้อหาต่างๆ ที่จะออกสอบ โดยหนังสือเตรียม “สอบ ก.พ.” สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายหนังสือชั้นนำทั่วไป จะอยู่ในพวกหมวดหนังสือเตรียมสอบ ก.พ. , หนังสือเตรียมสอบ ก.พ. ภาค ก , หนังสือเตรียมสอบ ภาค ก ครับน้อง

6. เรียนคอร์สติว “สอบ ก.พ.” ออนไลน์

น้องที่อ่านหนังสือเองแล้วไม่เข้าใจ ความรู้ไม่เข้าหัว จับจุดแนวข้อสอบ ก.พ. ไม่ได้ หรือบางคนไม่มีพื้นฐานในการ “สอบ ก.พ.” ภาค ก. มาเลย หรือมีบ้างแล้วแต่รู้สึกว่าความรู้ยังไม่แน่นเลยพี่บัส ลองทำโจทย์แล้วยังคิดช้า ขาดเทคนิคลับ วิชามารต่างๆ ที่ช่วยให้น้องทำข้อสอบได้เร็ว ชัวร์ และทันเวลา

พี่บัสขอแนะนำคอร์สติวสอบ ก.พ. ภาค ก. ออนไลน์กับ Guru Academy น้องจะได้เรียนเนื้อหาการ “สอบ ก.พ.” ภาค ก. แบบคัดๆ เน้นๆ มาแล้วว่า ตรงจุด ตรงแนว กระชับ ทั้งนี้น้องจะได้ซ้อมทำข้อสอบจริงๆ จับเวลาจริงๆ เพื่อวัดว่าตัวเองพร้อมสอบสนามจริงแล้วหรือยังด้วย และคอร์สนี้น้องสมัครเรียนครั้งเดียว!! เรียนได้ไม่มีวันหมดอายุ!! คอร์สเรียนมีการอัปเดตอยู่ตลอด น้องไม่ต้องกลัวว่าจะได้เรียนแต่เนื้อหาเก่าๆ เลยครับ จะเข้าเรียนเวลาไหนก็ได้ เรียนที่ไหนก็ได้ คุ้มค่าและสะดวกสุดๆ เลย

7. แบ่งเวลาทบทวนเนื้อหาที่เรียนมา

แน่นอนว่าในการอ่านครั้งแรก น้องอาจจะเขียนสรุปครบแล้ว ท่องจำมาอย่างดีแล้ว แต่พอเวลาผ่านไป อนิจจังความจำเราเสื่อมลง ทำให้อาจลืมเนื้อหาบางส่วน สูตรบางสูตร ศัพท์บางคำ ไปอย่างสิ้นเชิง 555

ดังนั้นน้องต้องหมั่นทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปอย่างสม่ำเสมอนะ จะช่วยให้เราทำข้อสอบได้อย่างมั่นใจมากขึ้นครับ

8. ตะลุยโจทย์ “สอบ ก.พ.” ฝึกจับเวลาทำข้อสอบเก่า

การตะลุยโจทย์ ฝึกจับเวลาทำข้อสอบเก่า พี่บัสบอกได้เลยว่า สิ่งนี้สำคัญมาก!! และน้องห้ามพลาดเลยทีเดียว เพราะอย่างที่รู้ๆ กันอยู่แล้วว่า ข้อสอบ ก.พ. ภาค ก นั้นจะออกในขอบเขตเนื้อหาเดิมๆ บางข้อเหมือนแค่เอาข้อสอบเก่า มาปรับเปลี่ยนรายละเอียดโจทย์ ตัวเลือกหรือ เปลี่ยนตัวเลข เพียงแค่นั้น

ดังนั้นการตะลุยข้อสอบเก่าๆ นอกจากจะช่วยทำให้เราคุ้นเคยกับเนื้อหาแล้ว ยังช่วยให้เราได้ฝึกทำข้อสอบให้ทันภายในเวลาที่กำหนดอีกด้วย

9. ติดตามประกาศของสำนักงาน ก.พ. อยู่เสมอ

เนื่องจากทาง สำนักงาน ก.พ. จะมีการอัปเดตทั้งเรื่อง วันสมัครสอบ วันอัปโหลดรูป วันสอบ อยู่เสมอๆ อย่างเช่นปี 2564 ที่วันสอบ เลื่อนแล้วเลื่อนอีก เพราะสถานการณ์โควิด ดังนั้นน้องๆ ต้องหมั่นติดตามประกาศของ สำนักงาน ก.พ. ไว้นะครับ

10. เตรียมตัวก่อนลงสนาม “สอบ ก.พ.” จริง

หากน้องทำครบทั้ง 9 ข้อด้านบนแล้ว พี่บัสเชื่อว่าน้องๆ ทุกคนน่าจะมีความมั่นใจในการทำข้อสอบเพิ่มมากขึ้นแล้วแน่นอน ดังนั้นในวันสอบลงสนามจริง น้องต้องเตรียมตัวให้พร้อม ทั้งเรื่องบัตรสอบ ดินสอ ปากกา ดูเส้นทางการเดินทางไปยังสนามสอบ รวมถึงการแต่งกายไปสอบด้วย สิ่งเหล่านี้น้องต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อนลงสนามจริงนะ จะได้ไม่พลาดในการ “สอบ ก.พ.”!!


ควรเตรียมตัว “สอบ ก.พ.” ล่วงหน้า กี่เดือน?

เป็นคำถามที่น้องมักทักมาปรึกษากับพี่บัสกันบ่อยๆเลยว่า พี่บัสครับ พี่บัสคะ ควรเริ่มอ่านหนังสือเตรียมสอบบรรจุเมื่อไหร่ดี ต้องชี้แจงตรงนี้ก่อนเลยนะครับว่า แต่ละคนมีความแตกต่างกัน บางคนอ่านได้เร็ว บางคนอ่านได้ช้า คำตอบจึงไม่ตายตัว

แต่พี่บัสมีคำแนะนำว่า อย่างน้อยประมาณสัก 3 เดือนก่อนสอบ กำลังดี!!! เพราะเนื้อหาเตรียม “สอบ ก.พ.” ภาค ก ไม่ใช่น้อยๆ เลย และต้องเผื่อเวลาลองทำข้อสอบดูด้วย เพื่อจะได้รู้ว่าตัวเราพร้อมแค่ไหนแล้ว

ดังนั้นระยะเวลา 3 เดือนน่าจะน้อยสุดที่เป็นไปได้ละล่ะ แต่ๆๆ… ใครอยากอ่านเร็วกว่านั้นเช่น 6 เดือน, 1 ปี ก็ลุยไปก่อนเลยนะน้อง ไม่ใช่ว่าต้องรอเหลือ 3 เดือนสุดท้าย 555


เทคนิคอ่านหนังสือก่อน “สอบ ก.พ.” 3 เดือนสุดท้าย

พี่บัสแพลนคร่าวๆ ช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนสอบ ให้แบบนี้ครับ

1. เริ่มอ่านทีละวิชา อ่านแล้วก็สรุปความเข้าใจของตัวเอง 

น้องจะได้ทำความเข้าใจทีละวิชา ไม่จำเนื้อหาปะปนกัน ที่พี่บัสไม่แนะนำให้อ่านสลับวิชาไปมา เพราะว่ามันจะทำให้ได้หน้า แล้วลืมหลัง สุดท้ายก็จะสลับสับสนเนื้อหาวิชากันไปหมด

2. อ่านเนื้อหาให้จบใน 1-2 เดือนก่อนสอบ 

อ่านหนังสือเตรียมตัว “สอบ ก.พ.” ให้ครบก่อน เพราะจะได้มีเวลาเหลือไปฝึกฝนทำข้อสอบเก่า แนวข้อสอบเสมือนจริง เพื่อดูว่าตัวเองยังมีข้อบกพร่องตรงไหนไหม จะได้รีบแก้ไข และปรับปรุงได้ทันท่วงที

3. ควรอ่านวันละ 3-4 ชั่วโมง 

แต่ไม่ใช่ว่า ต้องอ่านรวดเดียวยิงยาว 3-4 ชั่วโมงเลยนะน้อง น้องอาจจะแบ่งโดยตื่นมาอ่านตอนเช้าก่อน 1 ชั่วโมง อ่านช่วงพักกลางวันอีกครึ่งชั่วโมง ช่วงว่างจากงานระหว่างวันอีกครึ่งชั่วโมง กลับบ้านมาช่วงเย็นอ่านอีกซัก 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน ก็จะรวมเป็นประมาณ 3-4 ชั่วโมงต่อวันนั่นเองครับ ถ้าน้องรู้สึกว่ามันหนักเกินไปพี่บัส ให้น้องนึกถึงคู่แข่งเข้าไว้ เขาอาจจะอ่านเยอะกว่านี้ก็ได้ พี่บัสอยากให้น้องใช้เวลาให้คุ้มค่าที่สุดนะ ผลออกมาจะได้ไม่เสียใจที่เราทำเต็มที่แล้ว


ข้อสรุป

ถ้าน้องๆ มีความตั้งใจที่จะ “สอบ ก.พ.” ภาค ก. ผ่านในรอบนี้ ที่เสมือนเป็นประตูด่านแรกไปให้ได้ แล้วล่ะก็ น้องต้องเตรียมตัว เตรียมความรู้ เตรียมกาย เตรียมใจ ให้พร้อมนะครับ เพื่อที่จะได้ไม่เสียโอกาส ในการสอบรอบนี้ เพราะถ้าสอบไม่ผ่านต้องรอสอบใหม่ถึง 1 ปีเลยทีเดียว 

ดังนั้นถ้าน้องไม่รู้จะเตรียมตัว “สอบ ก.พ.” อย่างไร ก็มาลุยไปกับพี่บัสกันได้เลยครับ น้องจะได้เรียนเนื้อหาที่กระชับ ตรงจุดเน้น ครบถ้วน สรุปจบครบทุกประเด็น พร้อมได้ฝึกลองทำข้อสอบเสมือนจริงแบบจุใจแน่นอน

Share !!!
Picture of เขียนโดย   พี่บัส GURU ACADEMY
เขียนโดย พี่บัส GURU ACADEMY

เจ้าของสถาบันติวการสอบราชการ ที่1 ของประเทศ

เขียนโดย พี่บัส GURU ACADEMY
เจ้าของสถาบันติวการสอบราชการ ที่ 1 ของประเทศ

บทความที่เกี่ยวข้อง

คอร์สติวสอบราชการ ออนไลน์

ที่สุด...แห่งคุณภาพ กว่า 10 ปี

ที่สุด…แห่งผลงานการันตีอันดับ 1

ที่สุด…แห่งความครบถ้วน จัดเต็มทุกวิชา

GURU ACADEMY คอร์สติวสอบราชการ

ประสบการณ์สอนมากกว่า 10 ปี มีลูกศิษย์มากกว่า 20,000 คน

เมนู

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า