มีน้องหลายคนมาถามพี่บัส โดยเฉพาะน้องผู้ชายที่เคยเกเรมาก่อน
“ถ้ากรณีที่ผมเคยทำตัวไม่ดีมาก่อน เคยโดนคดีมาก่อน มีประวัติไม่ดีมาบ้าง ผมจะสามารถ “สอบข้าราชการ” ตำรวจ หรือสมัครสอบ “นายสิบตำรวจ” ได้ไหมครับพี่?”
พี่บัสขอตอบก่อนว่า ต้องดูเป็นกรณีๆ ไปครับน้อง ถ้ามีคดีแล้วอยาก “สอบตำรวจ” จะมีกรณีไหนบ้าง มาดูกันครับ
หลักเกณฑ์ของกองการ “สอบตำรวจ”
ก่อนอื่นเลยเราต้องมาทำความเข้าใจถึงหลักเกณฑ์ของกองการสอบที่ว่า
“ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ” แปลความได้หลักๆ คือ
- ต้องไม่เคยถูกศาลตัดสินให้จำคุก หรือต้องติดคุกจริงๆ (กรณีรอลงอาญาไม่เข้าข่าย น้องสามารถสมัคร “สอบตำรวจ” ได้)
- ข้อยกเว้น! แม้จะเคยถูกจำคุกจริงๆ แต่หากเป็นความผิดโดยประมาท กับลหุโทษ ก็สมัคร “สอบตำรวจ” ได้เช่นกันครับ
ซึ่งความผิดโดยประมาท คือ คดีที่มีคำว่า “ประมาท” อยู่ด้วย เช่น ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
ความผิดลหุโทษ คือ ความผิดเล็กๆ น้อยๆ ตามกฎหมาย คือ ความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
กรณีขับรถในขณะเมาสุรา
กรณีนี้ไม่ใช่ความผิดโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ และส่วนมากศาลจะรอลงอาญา จึงไม่ติดคุกจริง
แต่นอกจากหลักเกณฑ์นี้แล้ว ยังมีหลักเกณฑ์ในรอบการตรวจสอบประวัติคดีอีก คือ การตรวจสอบประวัติก่อนเข้ารับราชการ โดยพิมพ์ลายนิ้วมือ เพื่อตรวจสอบประวัติ ตรวจโดยการพิมพ์ลายนิ้วมือทั้ง 10 นิ้ว ไปตรวจสอบกับกองทะเบียนประวัติอาชญากรครับ
ผู้ที่มีประวัติคดีอาญา หรือต้องหาคดีอาญา
คณะกรรมการดําเนินการคัดเลือก หรือคณะอนุกรรมการพิจารณาความเหมาะสมกับตําแหน่ง จะพิจารณาจากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งการกระทําความผิด ว่าเป็นผู้ประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดีหรือไม่ รวมทั้งความน่ารังเกียจของสังคมและเกียรติภูมิของข้าราชการตํารวจ โดยจะนําผลทางคดีในชั้นพนักงานสอบสวน (ร้อยเวร) ที่มีการดําเนินคดีสิ้นสุดในชั้นพนักงานสอบสวนแล้ว หรือพนักงานอัยการที่มีคําสั่งไม่ฟ้อง หรือในชั้นศาลที่มีคําพิพากษาถึงที่สุดแล้ว (ศาลฎีกาตัดสินแล้ว หรือสิ้นสุดแล้ว ไม่มีการอุทธรณ์) ในแต่ละคดี มาเป็นหลักการและข้อมูลที่สําคัญเพื่อประกอบการพิจารณาแล้วแต่กรณีไปครับ
ข้อสรุป
จะมีคณะกรรมการอีกชุดหนึ่งพิจารณาเป็นกรณีๆ แต่หากเราไม่เห็นด้วยกับคณะกรรมการ สามารถอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการได้ หรือที่สุดแล้ว คณะกรรมการเห็นว่าคำอุทธรณ์ของเราฟังไม่ขึ้น คำสั่งของคณะกรรมการ ถือเป็นคำสั่งทางปกครอง เราสามารถยื่นเรื่องให้ศาลปกครองตัดสินได้ แต่ถ้าไม่มีคดีติดตัวจะดีที่สุดแล้วครับ
ผลงานการ “สอบตำรวจ” ติดของลูกศิษย์ พี่บัส GURU Police ในรอบที่ผ่านมา ล่าสุด!
ติวสอบ “นายสิบตำรวจ” โดยเฉพาะ
เพราะ การสอบตำรวจ ไม่ได้แข่งแค่กับตัวเอง แต่น้องกำลังจะแข่งกับคนนับหมื่น
ดังนั้น “การเตรียมตัว” และ “การวางแผน” จึงสำคัญ
และที่นี่คือที่เดียว ที่มีผลงานการันตีการสอบติด อันดับ 1 อย่างชัดเจน
อยากเป็น “นายสิบตำรวจ” ปีนี้ ต้องทำอย่างไร?
สิ่งที่น้องจะได้จากคอร์สติวหวังผลของพี่บัส คือหัวใจของการ “สอบตำรวจ 65” ติดในรอบเดียวแบบลูกศิษย์หลักหมื่นคน นอกจากสรุปเนื้อหาที่กระชับ รวมถึงแนวข้อสอบ “สอบตำรวจ” ที่น้องจะได้รับแล้ว ยังมีการเน้นจุดสำคัญ เทคนิคลับ รวมถึงวิธีการเรียนที่มีประสิทธิภาพที่พี่บัสได้มอบให้กับน้องครับ
สมัคร “ติวสอบนายสิบตำรวจ” เรียนได้ตลอดชีพ คอร์สเรียนไม่มีวันหมดอายุ พร้อมหนังสือเรียน 5 เล่มฟรี!!! ไม่มีพื้นฐานก็เรียนได้ พี่บัสดูแลน้องทุกคนตั้งแต่สอบติดจนถึงวันรายงานตัว ระหว่างเรียนติดปัญหาตรงไหนทักถามพี่บัสได้ทันที หรือน้องอยากปรึกษาพี่บัสเรื่องอื่นๆ ทักพี่บัสมาได้เลยนะครับ
>> จัดเต็ม! 5 ความพิเศษของคอร์สติว “สอบตำรวจ” ฉบับหวังผล 2565