ทดลองเรียน ติวสอบราชการ ได้สายงานมูลค่า  590 บาท “ฟรี”

อยากเป็นตำรวจต้องรู้! สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจคืออะไร ?

สิ่งที่พี่บัสจะให้ในวันนี้จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับ “สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ” ซึ่งน้องที่จะ “สอบตำรวจ” อยากเป็น “นายสิบตำรวจ” ควรทำความรู้จัก และเข้าใจเบื้องต้น เพราะจะเกี่ยวข้องกับทิศทาง และนโยบายต่างๆ ที่จะส่งผลถึงการทำงานของตำรวจทุกนาย และสำนักงานก็มีแบ่งหน่วยงานแยกย่อยลงไปอีก เพื่อกระจายหน้าที่และความรับผิดชอบด้วยนั่นเอง รวมถึงสถานที่ทำงานของน้องในอนาคตด้วย ว่าอยากทำงานในหน่วยงานไหน ดังนั้นแล้วไม่ต้องรอช้า มาดูกันเลยครับน้อง


ยาวไปอยากเลือกอ่าน

สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ คืออะไร?

ยุทธศาสตร์ หมายถึง ทิศทาง นโยบายและกระบวนการที่องค์กรตัดสินใจในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการ และความคาดหวังโดยเกิดประสิทธิผลอันดีในอนาคตนั่นเอง

สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ คือ หน่วยงานระดับกองบัญชาการอันขึ้นตรงต่อสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.​2552 มาตรา 4


หน้าที่ของสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ

สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ มีหน้าที่ในด้านงานบริหารบุคคล ธุรการ สารบรรณ งานคดีและวินัย วางแผนนโยบายยุทธศาสตร์ต่างๆ บริหารจัดการการเงิน สวัสดิการ เทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ อย่างเป็นระเบียบแบบแผน เพื่อให้เป็นประสิทธิภาพในการทำงานอันดีแก่สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจนั่นเอง


หน่วยงานในสำนักยุทธศาสตร์ตำรวจ มีอะไรบ้าง

1. กองยุทธศาสตร์ (ยศ.)

  • เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำ คำรับรองในการปฏิบัติราชการประจำปี รวมทั้งแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้สอดคล้องกับแผนบริหารราชการแผ่นดิน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายของรัฐและคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
  • ประสานงาน ร่างแผนงาน โครงการและยุทธศาสตร์ภาพรวมของสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • บริหารความเสี่ยงในภาพรวมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • ปฎิบัติงาน ให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ฝ่ายการทำงานในหน่วยงานกองยุทธศาสตร์ (ยศ.) ได้แก่

  • ฝ่ายอำนวยการ
  • กลุ่มงานวิเคราะห์และกำหนดยุทธศาสตร์
  • กลุ่มงานแผนทางการบริหาร
  • กลุ่มงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
  • กลุ่มงานประเมินผลยุทธศาสตร์
  • กลุ่มงานบริหารความเสี่ยง

2. กองแผนงานอาชญากรรม (ผอ.)

  1. เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาและจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันอาชญากรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของชาติ
  2. ดำเนินการวิเคราะห์สถานภาพอาชญากรรมและประเมินแนวโน้มสถานการณ์อาชญากรรมแต่ละประเภทในภาพรวม และจำแนกตามพื้นที่อย่างเป็นแบบแผน พร้อมเสนอแนวทางการแก้ไข
  3. ดำเนินการเกี่ยวกับการรณรงค์การป้องกันอาชญากรรม การพัฒนาและมาตรฐานด้านการป้องกันอาชญากรรม การรับรองมาตรฐานด้านการป้องกันอาชญากรรม การรักษาความปลอดภัย จัดระเบียบและควบคุมปัญหา
  4. ส่งเสริมให้มีการจัดระบบงานในระดับท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ
  5. ตรวจสอบมาตรฐานการทำงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย พัฒนาคุณภาพในวิชาชีพ
  6. ให้คำปรึกษา แนะนำแก่หน่วยงานในการปฏิบัติหน้าที่
  7. ร่วมมือและสนับสนุนการทำงานแก่หน่วยงานอื่นๆ

ฝ่ายการทำงานในหน่วยงานกองแผนงานอาชญากรรม (ผอ.) ได้แก่

  • ฝ่ายอำนวยการ
  • กลุ่มงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
  • กลุ่มงานป้องกันอาชญากรรมพิเศษ
  • กลุ่มงานการมีส่วนร่วมของประชาชน
  • กลุ่มงานวิเคราะห์และประเมินผล

3. กองแผนงานความมั่นคง (ผค.)

  1. เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง การจราจร การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ปัจจัยคุกคามทั้งภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในภาพรวม
  2. วางแผนการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการตำรวจ
  3. รณรงค์และเสริมสร้างความมั่นคง ป้องกันอุบัติเหตุจราจร พัฒนาระบบป้องกัน บรรเทาสาธารณภัยและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งบริการสังคม ส่งเสริม และสนับสนุนหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน
  4. ประสานงานให้ความร่วมมือกับสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดมาตรฐานการนำเทคโนโลยีและวิทยาการมาสนับสนุนงานด้านต่างๆ
  5. ให้คำปรึกษา แนะนำแก่หน่วยงานในสังกัด
  6. จัดระเบียบ ระบบการตรวจสอบมาตรฐานเจ้าหน้าที่จราจร และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพในวิชาชีพ
  7. ร่วมมือและสนับสนุนการทำงานแก่หน่วยงานอื่นๆ

ฝ่ายการทำงานในหน่วยงานกองแผนงานความมั่นคง (ผค.) ได้แก่

  • ฝ่ายอำนวยการ
  • กลุ่มงานการรักษาความปลอดภัย
  • กลุ่มงานความมั่นคง
  • กลุ่มงานจราจร
  • กลุ่มงานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและสิ่งแวดล้อม
  • กลุ่มงานวิเคราะห์และประเมินผล

4. กองวิจัย (วจ.)

  1. ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบ รูปแบบ เทคนิค ยุทธวิธีตำรวจ และวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมทั้งสนับสนุนการถ่ายทอดการพัฒนาด้านต่างๆ ให้แก่หน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  2. ประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบายหรือยุทธศาสตร์ด้านต่างๆ
  3. ประสานงานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา หรือองค์กรเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวิจัย
  4. ร่วมมือและสนับสนุนการทำงานแก่หน่วยงานอื่นๆ

ฝ่ายการทำงานในหน่วยงานกองวิจัย (วจ.) ได้แก่

  • ฝ่ายอำนวยการ
  • กลุ่มงานส่งเสริมและประสานงานวิจัย
  • กลุ่มงานวิจัยและประเมินผล 1-3

5. กองแผนงานกิจการพิเศษ (ผก.)

  1. อำนวยการด้านยุทธศาสตร์ในการจัดทำแผนถวายความปลอดภัยในภาพรวมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเกี่ยวกับการถวายความปลอดภัยสำหรังองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ผู้แทนพระองค์ อันเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และบุคคลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นพระราชอาคันตุกะ
  2. เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาและจัดทำแผนยุทธศาสตร์ดำเนินงานเกี่ยวกับงานด้านจิตอาสาตามกิจกรรมจิตอาสาพระราชทานในภาพรวมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและงานกิจการพิเศษ
  3. วิเคราะห์โครงการ แผนงาน กิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการถวายความปลอดภัย งานด้านจิตอาสาพระราชทานและงานกิจการพิเศษ
  4. ประสานงานความร่วมมือกับองค์กรอื่น ทั้งภาครัฐและเอกชนในการดำเนินงานจิตอาสาพระราชทาน
  5. ให้คำปรึกษา แนะนำแก่หน่วยงานในด้านงานจิตอาสาพระราชทาน
  6. จัดทำแนวทางขับเคลื่อน บริหารจัดการ และดำเนินงานฝึกอบรม เพิ่มทักษะแก่ข้าราชการตำรวจแห่งชาติ
  7. ประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการถวายความปลอดภัยงานด้านจิตอาสาตามกิจกรรมจิตอาสาพระราชทาน และงานกิจการพิเศษของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  8. ร่วมมือและสนับสนุนการทำงานแก่หน่วยงานอื่นๆ

ฝ่ายการทำงานในหน่วยงานกองแผนงานกิจการพิเศษ (ผก.) ได้แก่

  • ฝ่ายอำนวยการ
  • กลุ่มงานแผนถวายความปลอดภัยและกิจการพิเศษ
  • กลุ่มงานจิตอาสาพัฒนา
  • กลุ่มงานจิตอาสาภัยพิบัติและจิตอาสาเฉพาะกิจ
  • กลุ่มงานขับเคลื่อนการถวายความปลอดภัยในพื้นที่
  • กลุ่มงานวิเคราะห์และประเมินผล

ข้อสรุป

ทั้งหมดนี้เป็นบทบาทหน้าที่ของสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ โดยมีการกำหนดแบบแผนอย่างเป็นระบบ และระเบียบในส่วนงานต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพนั่นเอง น้องที่อยาก “สอบตำรวจ” อยากสอบ “นายสิบตำรวจ” เพื่อเข้าร่วมการทำงานในส่วนงานสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ ก็สามารถเลือกได้อีกครับว่า มีความสนใจในฝ่ายไหน เพื่อเตรียมความพร้อม ทั้งทักษะ ความรู้ความสามารถและสมรรถภาพร่างกายนั่นเอง 


ผลงานการ “สอบตำรวจ” ติดของลูกศิษย์ พี่บัส GURU Police ในรอบที่ผ่านมา ล่าสุด!

“เมื่อน้องตั้งใจจะทำอะไรสักอย่าง ขอให้ลุยให้สุด!!”

พี่บัสเชื่อว่า วันหนึ่งที่เรามองย้อนกลับมา มันจะไม่มีความเสียใจ หรือเสียดายอะไร เพราะเราได้ทำเต็มที่จริงๆ พยายามจนวินาทีสุดท้ายแล้วจริงๆ ขอให้น้องเชื่อมั่นในศักยภาพตนเอง ไม่ดูถูกตัวเอง และในทุกๆ สนามสอบ น้องก็เป็นคนหนึ่งที่มีโอกาสสอบติดได้เหมือนกัน พี่บัสเป็นกำลังใจให้น้องเสมอนะครับ

ในวันนี้ยินดีกับน้องเมค สายปราบปรามด้วยนะ ถ้าน้องเอาจริงก็ “สอบตำรวจ” ติดแบบรุ่นพี่ได้ อ่านหนังสือไม่เข้าใจตรงไหน มาถามพี่บัสได้ตลอดนะครับน้อง สู้ๆ นะ


อยากเป็น “นายสิบตำรวจ” ปีนี้ ต้องทำอย่างไร?

สิ่งที่น้องจะได้จากคอร์สติวหวังผลของพี่บัส คือหัวใจของการ “สอบตำรวจ” ติดในรอบเดียวแบบลูกศิษย์หลักหมื่นคน นอกจากสรุปเนื้อหาที่กระชับ รวมถึงแนวข้อสอบ “สอบตำรวจ” ที่น้องจะได้รับแล้ว ยังมีการเน้นจุดสำคัญ เทคนิคลับ รวมถึงวิธีการเรียนที่มีประสิทธิภาพที่พี่บัสได้มอบให้กับน้องครับ

สมัคร “ติวสอบนายสิบตำรวจ” เรียนได้ตลอดชีพ คอร์สเรียนไม่มีวันหมดอายุ พร้อมหนังสือเรียน 5 เล่มฟรี!!! ไม่มีพื้นฐานก็เรียนได้ พี่บัสดูแลน้องทุกคนตั้งแต่สอบติดจนถึงวันรายงานตัว ระหว่างเรียนติดปัญหาตรงไหนทักถามพี่บัสได้ทันที หรือน้องอยากปรึกษาพี่บัสเรื่องอื่นๆ ทักพี่บัสมาได้เลยนะครับ

>> จัดเต็ม! 5 ความพิเศษของคอร์สติว “สอบตำรวจ” ฉบับหวังผล 2565

Share !!!
เขียนโดย   พี่บัส GURU ACADEMY
เขียนโดย พี่บัส GURU ACADEMY

เจ้าของสถาบันติวการสอบราชการ ที่1 ของประเทศ

เขียนโดย พี่บัส GURU ACADEMY
เจ้าของสถาบันติวการสอบราชการ ที่ 1 ของประเทศ

บทความที่เกี่ยวข้อง

คอร์สติวสอบราชการ ออนไลน์

ที่สุด...แห่งคุณภาพ กว่า 10 ปี

ที่สุด…แห่งผลงานการันตีอันดับ 1

ที่สุด…แห่งความครบถ้วน จัดเต็มทุกวิชา

GURU ACADEMY คอร์สติวสอบราชการ

ประสบการณ์สอนมากกว่า 10 ปี มีลูกศิษย์มากกว่า 20,000 คน

เมนู

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า