รู้ก่อน เตรียมตัวก่อน! น้องๆ คงรู้กันอยู่แล้วว่าในปี 2564 ทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) ได้มีการปรับเปลี่ยนระเบียบการสอบ ก.พ. โดยเพิ่มวิชาสอบเข้ามา นั้นก็คือ วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี หรือ ที่หลายคนเรียกว่า วิชากฎหมายสำหรับข้าราชการ แน่นอนว่า มีหลายคนแน่ๆ ที่กำลังสงสัยว่า ข้อสอบ ก.พ. ออกอะไรบ้าง ในปี 256
นอกจากการเพิ่มวิชากฎหมายเข้ามาแล้ว กฎเกณฑ์ในการสอบวิชาอื่นยังคงเหมือนเดิมตามปี 63 สำหรับน้องๆ คนไหนที่ยังไม่รู้ว่าข้อสอบ ก.พ. ออกอะไรบ้าง สามารถเลื่อนลงไปหัวข้อถัดไปได้ พี่บัสได้เตรียมคำตอบที่น้องๆสงสัยกันว่า ข้อสอบ ก.พ. มีอะไรบ้าง แต่ละวิชามีกี่ข้อ มีเรื่องอะไรที่ออกสอบ พร้อมทั้งบอกเกณฑ์คะแนนโดยรายละเอียดไว้ทั้งหมด ทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับการสอบ ก.พ. ภาค ก พี่เตรียมคำตอบไว้ในบทความนี้แล้วครับ!
เลือกอ่าน...ตามหัวข้อที่คุณสนใจ
Toggleข้อสอบ ก.พ. ออกอะไรบ้าง
พี่บัสอยากให้น้องๆทุกคนทำความเข้าใจกันก่อนว่า การสอบ ก.พ. เพื่อบรรจุเป็นราชการที่เป็นความฝันของใครหลายๆคนนั้น แบ่งออกเป็น 3 ภาค หลักๆ ได้แก่ ก.พ. ภาค ก, สอบ ก.พ. ภาค ข และ ภาค ค ในบทความนี้พี่บัสขอโฟกัสที่ข้อสอบ ก.พ. ภาค ก ก่อนนะครับ
เพราะการสอบ ก.พ. ภาค ก เป็นประตูด่านแรกที่ต้องสอบให้ผ่าน หากสอบไม่ผ่านจะไม่สามารถสอบภาคอื่นๆ ที่เป็นประตูด่านต่อไปได้นั้นเอง มาถึงตรงนี้น้องๆคงสงสัยกันแล้วว่า “แล้วข้อสอบ ก.พ. ออกอะไรบ้างคะ/ครับ?” โดยพี่บัสได้สรุปคำตอบมาไว้ให้น้องๆทุกคนแล้ว ข้อสอบ ก.พ. มี 3 วิชาหลัก ได้แก่
- วิชาความรู้ทั่วไปและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (100 คะแนน)
- วิชาภาษาอังกฤษ (50 คะแนน)
- วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี (50 คะแนน)
นอกจากนี้ในหัวข้อถัดไปพี่บัสได้อธิบายรายละเอียดเนื้อหาข้อสอบอย่างละเอียดไว้แล้ว ลองไปดูพร้อมๆกับพี่บัสกันเลยดีกว่าครับ
ข้อสอบ ก.พ. วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์
น้องๆอาจจะยังคงสงสัยว่าวิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คือ วิชาอะไร ? หรือ ข้อสอบ ก.พ. ออกอะไรบ้าง พี่บัสจะช่วยอธิบายให้เข้าใจง่ายๆเองครับ วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์จริงๆแล้วคือ วิชาคณิตศาสตร์ และ วิชาภาษาไทยนั้นเอง ซึ่งวิชานี้จะวัดความรู้ทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่
- การคิดวิเคราะห์เชิงภาษา (วิชาภาษาไทย)
เป็นการทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการวิเคราะห์ “เชิงภาษา” เนื้อหาจะเกี่ยวกับการอ่านจับใจความสำคัญของบทความ การวิเคราะห์บทความ การตีความจากบทความ ข้อความ หรือ สถานการณ์ต่างๆ ที่โจทย์ได้ให้มานั้นเอง
- การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม (วิชาภาษาไทย + วิชาคณิตศาสตร์)
เป็นการนำวิชาคณิตศาสตร์และวิชาภาษาไทยมาผสมผสานกัน เนื้อหาจะประกอบไปด้วยการคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงคำ ข้อความ หรือรูปภาพ ตลอดจนหาข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ รูปภาพ และสถานการณ์ต่างๆ
- การคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ (วิชาคณิตศาสตร์)
เป็นการทดสอบความรู้และการวิเคราะห์คณิตศาสตร์เบื้องต้น เนื้อหาในข้อสอบจะประกอบไปด้วย อนุกรมตัวเลข, ระบบจำนวนจริง, สมการ, พื้นที่และปริมาตร, เปอร์เซ็นต์และร้อยละ, ห.ร.ม., ค.ร.น และอัตราส่วนและความน่าจะเป็น
ข้อสอบวิชาความสามารถในการวิเคราะห์รวมทั้งหมด 50 ข้อ คิดเป็นคะแนนเต็ม 100 คะแนน ซึ่งวิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เป็นข้อสอบที่ค่อนข้างมีเนื้อหาเจาะลึกเลยทีเดียว แน่นอนว่าข้อสอบ ก.พ. วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์เป็นวิชาที่หลายคนไม่ถนัด และค่อนข้างกังวลกลัวว่าจะสอบไม่ผ่าน ใช่ไหมครับ ?
แต่น้องๆ ไม่ต้องกังวลไปเลยครับ เพราะพี่บัสจะพาน้องๆไปทำความคุ้นเคยกับตัวอย่างข้อสอบวิชาความสามารถในการวิเคราะห์ รวมทั้งแนะนำเทคนิคการทำข้อสอบ เมื่อน้องๆต้องลงสนามสอบจริง บอกเลยว่าไม่มีการตื่นสนามอย่างแน่นอน อีกทั้งพี่บัสยังมีเทคนิคการทำข้อสอบเพื่อเก็บคะแนนกันแบบเต็มๆ ด้วยครับ
ข้อสอบ ก.พ. วิชาภาษาไทย
ข้อสอบ ก.พ. วิชาภาษาไทยจะอยู่ในรูปแบบของการคิดวิเคราะห์เชิงภาษา เช่น การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ความเข้าใจการอ่านภาษาไทย การสรุป การจับใจความสำคัญ การตีความจากจดหมาย ข้อความ หรือ สถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นการเน้นหลักคิดวิเคราะห์
ทั้งนี้ข้อสอบ ก.พ. วิชาภาษาไทย มีทั้งหมด 15 ข้อ 30 คะแนน แบ่งออกเป็น
- เรียงประโยค 5 ข้อ
- บทความสั้น – บทความยาว 10 ข้อ
โดยเนื้อหาข้อสอบในวิชานี้จะค่อนข้างกว้าง และคาดเดาได้ยาก แต่น้องๆไม่ต้องกังวลไปครับ เพราะพี่บัสจะช่วยแนะแนวทางการทำข้อสอบ เพื่อให้น้องๆเข้าใจและทำข้อสอบได้ง่ายขึ้นอย่างแน่นอน โดยเนื้อหาหลักๆ ของวิชาภาษาไทย มักออกสอบบ่อยๆ ได้แก่
- หลักภาษา เป็นหลักการของภาษามาใช้ เช่น คำภาษาต่างประเทศ การใช้คำฟุ่มเฟือย คำราชาศัพท์
- การอ่านจับใจความสำคัญ เป็นการอ่านบทความแล้วตอบคำถาม โดยวิเคราะห์จากบทความนั้นๆ ซึ่งคำตอบจะต้องเกี่ยวข้องกับบทความที่ให้มานั้นเอง
- การเรียงลำดับประโยค โดยข้อสอบจะให้ข้อความหลายๆ ประโยค และให้เราเรียงลำดับประโยคมาก่อน-หลังให้ถูกต้อง
ข้อสอบ ก.พ. วิชาคณิตศาสตร์
ข้อสอบ ก.พ. วิชาคณิตศาสตร์ คือการคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณและการคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม เช่น การหาข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ การเปรียบเทียบและวิเคราะห์ข้อมูล การเข้าใจและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น โดยข้อสอบ ก.พ. วิชาคณิตศาสตร์มีทั้งหมด 35 ข้อ แบ่งออกเป็น 7 เรื่อง ดังนี้
- อนุกรม 5 ข้อ
- ตาราง 5 ข้อ
- คณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 ข้อ
- เงื่อนไขสัญลักษณ์ 10 ข้อ
- เงื่อนไขทางภาษา 5 ข้อ
- อุปมาอุปไมย 5 ข้อ
- โอเปอเรชั่น 1 ข้อ
ทีนี้คงหายสงสัยกันแล้วใช่ไหมครับ ว่าข้อสอบ ก.พ. คณิตออกอะไรบ้าง เพราะพี่บัสได้รวบรวมเอาทุกอย่างที่เกี่ยวกับข้อสอบ ก.พ. วิชาคณิตศาสตร์ไว้ที่นี่แล้ว!
ข้อสอบ ก.พ. วิชาภาษาอังกฤษ
สำหรับน้องๆคนไหนที่สงสัยว่าข้อสอบ ก.พ. ภาษาอังกฤษ ออกอะไรบ้าง ? มาตรงนี้เลยครับ พี่บัสมีคำตอบมาให้แล้ว
สำหรับข้อสอบ ก.พ. วิชาภาษาอังกฤษ เป็นการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษเบื้องต้นเพื่อวัดความเข้าใจในการสื่อสาร การใช้คำศัพท์ สำนวน และโครงสร้างประโยค ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ สำหรับน้องๆ ที่ไม่มั่นใจในทักษะภาษาอังกฤษของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องกังวลไปครับ หากเรารู้แนวข้อสอบ ก.พ. พี่บัสมั่นใจว่าการเตรียมตัวที่ดี ช่วยน้องๆได้อย่างแน่นอน
ในส่วนของวิชาภาษาอังกฤษมีข้อสอบ 25 ข้อ คะแนนเต็ม 50 คะแนน แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 เรื่อง ได้แก่
- บทสนทนา (Conversation) 5 ข้อ
- หลักไวยากรณ์ (Grammar) 5 ข้อ
- คำศัพท์ (Vocabulary) 5 ข้อ
- การอ่านจับใจความ (Reading) 10 ข้อ
นอกจากนี้พี่บัสได้เอาตัวอย่างข้อสอบ ก.พ. วิชาภาษาอังกฤษ เรื่องหลักไวยากรณ์และคำศัพท์ มาให้น้องๆ ได้ลองทำกัน มาลองทำไปพร้อมกันเลยดีกว่าครับ
ข้อสอบ Fill in the blank. (เติมคำในช่องว่าง)
เฉลยข้อ 1 : ตอบข้อ c.
คำอธิบาย : จากประโยคจะเห็นว่า is going to คือ Verb แท้ ซึ่งหากต้องการใช้ Verb อีกตัวเพื่อมาขยายประโยคเพิ่มเติม ซึ่งทำหน้าที่เป็นกรรม จะต้องใช้ Verb Infinitive with to คือ to + V.1 หรือที่อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ Verb Infinitive คือ กริยาที่ไม่ผันตามประธานและไม่เปลี่ยนรูป
เฉลยข้อ 2 : ตอบข้อ d.
คำอธิบาย : หากอาศัยอยู่ที่ใดชั่วคราวหรือระยะเวลาสั้นๆ ควรใช้คำว่า stay แต่ถ้าอยู่ถาวรต้องใช้คำว่า live นั้นเองครับ
สำหรับน้องๆ ที่สงสัยว่าข้อสอบ ก.พ. ภาษาอังกฤษออกอะไรบ้าง คงเห็นภาพชัดมากขึ้น และสามารถวางแผนฝึกทำโจทย์กันได้ง่ายขึ้นอย่างแน่นอน
ข้อสอบ ก.พ. วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี
ข้อสอบ ก.พ. วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี เป็นวิชาที่เพิ่มเข้ามาใหม่ในปี 2564 เพื่อทดสอบความรู้ความสามารถความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นข้าราชการที่ดี เนื่องจากเป็นวิชาที่เพิ่มเข้ามาใหม่ หลายคนคงสงสัยใช่ไหมครับว่า ข้อสอบ ก.พ. ที่เพิ่มมาออกอะไรบ้าง ?
วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี หรือที่เรียกกันว่ากฎหมายข้าราชการ มีรายละเอียดข้อสอบ ดังนี้ จำนวนข้อสอบทั้งหมด 25 ข้อ คะแนนเต็ม 50 คะแนน แบ่งเนื้อหาออกเป็น 6 เรื่อง ได้แก่
- ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 ในส่วนของความผิดต่อหน้าที่ราชการ 2 ข้อ
- พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 6 ข้อ
- พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 6 ข้อ
- พ.ร.บ. ความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 2 ข้อ
- พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 6 ข้อ
- พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 3 ข้อ
เมื่อรู้ว่าข้อสอบ ก.พ. ที่เพิ่มมาออกอะไรบ้างอย่างนี้แล้ว สำหรับน้องๆคนไหนที่มีเวลาเตรียมตัวน้อย หรือเตรียมตัวไม่ทัน ก็สามารถโฟกัสได้ว่าต้องอ่านจุดไหนหรือเรื่องไหนมากน้อยกว่ากัน ซึ่งจะช่วยลดเวลาการอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวในการสอบได้เยอะเลยครับ
เกณฑ์คะแนนมีอะไรบ้าง
เกณฑ์คะแนนการสอบ ก.พ. แบ่งออกเป็น 2 ระดับ ซึ่งทั้ง 2 ระดับ จะมีเกณฑ์คะแนนต่างกัน ได้แก่
เกณฑ์สำหรับระดับ ปวช. ปวท/ปวส/อนุปริญญาและปริญญาตรี
- วิชาความรู้ความสามารถทั่วไปในการคิดวิเคราะห์ คะแนนเต็ม 100 คะแนน จำเป็นต้องได้ 60 คะแนน
- วิชาภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 50 คะแนน จำเป็นต้องได้ 25 คะแนน
- ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี คะแนนเต็ม 50 คะแนน จำเป็นต้องได้ 30 คะแนน
เกณฑ์สำหรับระดับปริญญาโท
- วิชาความรู้ความสามารถทั่วไปในการคิดวิเคราะห์ คะแนนเต็ม 100 คะแนน จำเป็นต้องได้ 65 คะแนน
- วิชาภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 50 คะแนน จำเป็นต้องได้ 25 คะแนน
- ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี คะแนนเต็ม 50 คะแนน จำเป็นต้องได้ 30 คะแนน
ข้อสรุป
น้องๆคนไหนที่ต้องการทำตามความฝัน สร้างความมั่นคงในอนาคตให้กับตัวเองและครอบครัวด้วยการทำงานสายราชการ จำเป็นอย่างมากที่ต้องสอบ ก.พ. ภาค ก. ที่เป็นประตูด่านแรกให้ผ่านเสียก่อน ซึ่งการสอบ ก.พ. นั้นจัดสอบเพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น การเตรียมตัวสอบ ก.พ. จึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งชีพ เพราะหากพลาดจำเป็นต้องรอสอบใหม่ในปีหน้า ซึ่งถือว่านานมากๆเลยครับ
พี่บัสจึงอยากแนะนำให้น้องๆทุกคนวางแผนการอ่านหนังสือและเตรียมตัวกันให้ดีเพื่อการสอบ ก.พ. และสำหรับน้องๆที่ไม่มั่นใจว่าอ่านเองจะตรงจุด ไม่รู้ว่าข้อสอบ ก.พ. ออกอะไรบ้าง หรืออยากได้เทคนิคการทำข้อสอบที่รวดเร็ว และชัวร์ ให้พี่บัสช่วยน้องๆได้ด้วยการสมัครเรียนคอร์สติวสอบ ก.พ. ภาค ก พี่บัสบอกเลยว่า คุ้ม!! การันตีจากประสบการณ์ตรงติวสอบราชการ 10 ปี
หากน้องๆคนไหนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสอบ ก.พ. เข้ามาปรึกษาพี่บัสได้ที่ไลน์แอด @gorporguru ได้เลยครับ