สำหรับการสอบ ก.พ. ที่ใกล้เข้ามานี้ ด่านแรกที่จะต้องสอบผ่านคือ ภาค ก ซึ่งประกอบไปด้วยวิชความสามารถทั่วไปในการคิดวิเคราะห์ 100 คะแนน ภาษาอังกฤษ 50 คะแนน ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดีหรือวิชากฎหมาย 50 คะแนน โดยหลายคนอาจจะยังสับสนหรือจับจุดแนวข้อสอบไม่ถูกว่าต้องอ่านจุดไหน เน้นจุดไหน โดยเฉพาะวิชาที่หลายคนยังไม่แม่นคือวิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดีหรือวิชากฎหมายที่เป็นวิชาที่ต้องใช้ความจำอย่างมากเพราะมีเนื้อหาที่ละเอียด
โดยวันนี้ พี่บัสจะมาแนะแนวข้อสอบกฎหมาย ก.พ. ที่ควรอ่านและควรรู้ก่อนไปสอบเพื่อความแม่นยำและความชัวร์กันครับ และนอกจากจะบอกแนวข้อสอบกฎหมาย ก.พ. แล้ว ยังมีโบนัสคือพี่บัสจะให้เพิ่มด้วย นั่นก็คือ ข้อสอบกฎหมาย กพ พร้อมเฉลยนั่นเอง เดี๋ยวเราไปเริ่มกันเลยครับ !!
เลือกอ่าน...ตามหัวข้อที่คุณสนใจ
Toggleข้อสอบกฎหมาย ก.พ.
ในการสอบ ก.พ. วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดีหรือที่หลายคนเรียกกันติดปากว่า “วิชากฎหมาย ก.พ.” ซึ่งเป็นวิชาที่อยู่ในการสอบ ก.พ. ภาค ก. โดยเวลาที่ใช้ในการสอบ 3 วิชารวมกันมีเวลาทำ 3 ชั่วโมง
ในจุดนี้น้องๆ ทุกคนต้องมีการแบ่งเวลาทำให้ดีว่า วิชาไหนควรจะใช้เวลาในการทำเยอะที่สุด และวิชาไหนที่ควรใช้เวลาในการทำที่กระชับที่สุด เพื่อที่จะใช้เวลาได้อย่างคุ้มค่าและมีเวลาเหลือที่จะทบทวนข้อที่ไม่มั่นใจ และในวันนี้พี่บัสจะพาทุกคนมารู้จักแนวข้อสอบกฎหมาย ก.พ. ว่าจะประกอบไปด้วยเนื้อหาอะไรบ้าง มาลุยกันเลยครับ !
กฎหมายที่ใช้ออกสอบ ก.พ. มีอะไรบ้าง
ในการสอบวิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดีหรือที่หลายคนเรียกกันติดปากว่า “วิชากฎหมาย ก.พ.” นั้นจะประกอบไปด้วยเนื้อหาที่เหล่าข้าราชการจะต้องรู้ ซึ่งในตัวข้อสอบกฎหมาย ก.พ. นั้นจะประกอบไปด้วย 6 ประเด็นหลักๆ รวมกันทั้งหมด 25 ข้อ คิดเป็น 50 คะแนน โดยจะมีเกณฑ์การผ่านคือ 60 % หรือต้องทำถูก 15 ข้อขึ้นไป ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. พ.ร.บ. ระเบียบราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
จำนวนข้อที่ออกโดยประมาณ 6 ข้อ ซึ่งจะประกอบไปด้วยเนื้อหาเรื่องโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน การจัดระเบียบราชการทั้ง 3 ส่วน คือ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น รวมไปถึงอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดิน และที่ออกบ่อยมากๆเลยก็คือ เป้าหมายในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 7 เป้าหมายที่เจอในข้อสอบกฎหมาย ก.พ. ทุกปี
2. พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
จำนวนข้อที่ออกโดยประมาณ 6 ข้อ ซึ่งจะประกอบไปด้วยเนื้อหาตั้งแต่เรื่องที่มาที่ไปของพ.ร.บ. นี้ นิยาม ผู้รักษาการ รวมถึงเป้าหมาย 7 เป้าหมาย โดยจะเน้นให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางการบริหารเป็นหลัก โดยจะต้องมีนโยบายที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐและคณะรัฐมนตรีเป็นต้น
3. พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
จำนวนข้อที่ออกโดยประมาณ 6 ข้อ โดยเนื้อหาในเรื่องนี้จะค่อนข้างละเอียดและมากพอสมควร เนื่องจากเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องตั้งแต่กระบวนการกำหนด ขั้นตอนในการดำเนินงานทางปกครองต่างๆ ซึ่งที่กล่าวมานั้นดูจะเยอะใช่ไหมครับ แต่ไม่ต้องห่วง ข้อสอบกฎหมาย ก.พ. ไม่ทิ้งประเด็นเรื่อง “คำสั่งทางปกครอง” อย่างแน่นอน
4. พ.ร.บ. มาตราฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562
จำนวนข้อที่ออกโดยประมาณ 3 ข้อ จากข้อสอบกฎหมาย ก.พ. จาก พ.ร.บ. ฉบับนี้จะมุ่งเน้นไปที่หัวใจของตัว พ.ร.บ. เอง คือเรื่องของหลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ 7 ข้อมากที่สุด รวมถึงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดหลักเกณฑ์รวมถึงการประเมินมาตรฐานจริยธรรมของเจ้าหย้าที่รัฐอีกด้วย
5. พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
จำนวนข้อที่ออกโดยประมาณ 2 ข้อ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบทางละเมิดอันเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ โดยกฎหมายฉบับนี้ออกมาเพื่อคุ้มครองเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในหน่วยงานของรัฐ ที่ได้ปฏิบัติงานในหน้าที่และเกิดความเสียหายขึ้นจากความไม่จงใจหรือความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยก็ตาม ซึ่งประเด็นที่มักออกสอบคือ นิยาม การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ การไล่เบี้ย การชดใช้ค่าเสียหาย รวมถึงเนื้อหาเรื่องอายุความที่เกิดขึ้นในแต่ละกรณี
6. ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 ในส่วนของความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
จำนวนข้อที่ออกโดยประมาณ 2 ข้อ โดยเป็นเนื้อหาตั้งแต่มาตรา 147 – 166 ซึ่งเป็นส่วนของความผิดของเจ้าหน้าที่ที่กระทำผิดต่อตำแหน่งราชการ เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่โดยตรง ซึ่งหากไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานของรัฐก็ไม่ถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 147 – 166 เพราะฉะนั้นประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 จึงมีความสำคัญต่อผลทางกฎหมายของเจ้าหนักงานเป็นอย่างมาก
แนวข้อสอบกฎหมาย ก.พ. พร้อมเฉลย
ซึ่งวันนี้พี่บัสจะมาแนะแนวและให้ตัวอย่างข้อสอบ กฎหมาย ก.พ. และแนวทางในการทำข้อสอบ ก.พ. ของแต่ละเรื่องกัน เพื่อที่น้องๆจะได้มีความพร้อมมากขึ้น สำหรับการสอบติดในครั้งนี้ !!
1. ข้อสอบ พ.ร.บ. ราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
ข้อที่ 1 ในการจัดระเบียบราชการในกระทรวง ทบวง กรม จัดให้เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนใด
เฉลย 1. ส่วนกลาง
คำอธิบาย ในการจัดระเบียบราชการในกระทรวง ทบวง กรม จัดให้เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง
ข้อที่ 2 การจัดระเบียบการบริหารราชการส่วนกลาง เป็นไปตามข้อใด
เฉลย 4. สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม
คำอธิบาย การจัดระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง เป็นการจัดระเบียบการบริหารของสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม
2. ข้อสอบ พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
ข้อที่ 1 ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายในการจัดทำ พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
เฉลย 2. วางแผนการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
คำอธิบาย เป้าหมายของการจัดทำ พ.ร.ฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มีทั้งหมด 7 เป้าหมายแต่ไม่รวมถึงการวางแผนการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ข้อที่ 2 ศูนย์บริการร่วม จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองเป้าหมายตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ตามข้อใด
เฉลย 1. ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
คำอธิบาย ศูนย์บริการร่วม คือ หน่วยงานให้บริการประชน โดยความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน โดยเป้าหมายของการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมนั้นคือการจัดขึ้นเพื่อการลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
3. ข้อสอบ พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
ข้อที่ 1 กรณีใดต่อไปนี้ที่เจ้าหน้าที่สามารถเป็นผู้พิจารณาคดีได้
เฉลย 3. เจ้าหน้าที่เป็นเพื่อนของคู่กรณี
คำอธิบาย ตามมาตราที่ 13 บุคคลที่ไม่สามารถพิจารณาคดีได้ ได้แก่
- คู่กรณีเอง
- ญาติของผู้กรณี
- เคยเป็น / เป็นผู้แทนหรือผู้พิทักษ์โดยชอบธรรมของคู่กรณี
- เป็นเจ้าหนี้ / ลูกหนี้ / นายจ้างของคู่กรณี
ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นเพื่อนของคู่กรณีนั้นสามารถเป็นผู้พิจารณาคดีได้
ข้อที่ 2 คู่กรณีอุทธรณ์คำสั่งการปกครองยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางการปกครองภายในกี่วัน
เฉลย 2. 15 วัน
คำอธิบาย คู่กรณีสามารถอุทธรณ์คำสั่งการปกครองยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองภายใน 15 วัน โดยคำอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือซึ่งต้องระบุข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริงหรือกฏหมาย
4. ข้อสอบ พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562
ข้อที่ 1 หน่วยงานใดมีหน้าที่ในการจัดทำมาตรการประมวลจริยธรรม
เฉลย 4. องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของหน่วยงานนั้นๆ
คำอธิบาย หน่วยงานที่มีหน้าที่จัดทำมาตรฐานการประมวลจริยธรรม ได้แก่
- องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของหน่วยงานนั้น
- คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม (ก.ม.จ.) ซึ่งสามารถทำข้อกำหนดเพิ่มเติมและให้คำแนะนำได้
ข้อที่ 2 คณะกรรมการจริยธรรมจะต้องทบทวนมาตรฐานทางจริยธรรมทุกกี่ปี
เฉลย 2. ทุก 5 ปี
คำอธิบาย คณะกรรมการจริยธรรมจะต้องทำการทบทวนมาตรฐานทางจริยธรรมทุกๆ 5 ปี แต่หากมีเหตุจำเป็นก็สามารถพิจารณาก่อนถึงเวลาได้
5. ข้อสอบ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
ข้อที่ 1 หากเจ้าหน้าที่ได้ทำผิดในหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อร้ายแรง ทำให้บุคคลหรือเอกชนเสียหาย ผู้เสียหายจะต้องฟ้องใคร
เฉลย 4. ฟ้องหน่วยงานแล้วให้ไล่เบี้ยกับเจ้าหน้าที่
คำอธิบาย ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้ทำผิดในหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อร้ายแรง มีเหตุทำให้บุคคลหรือเอกชนเสียหาย ผู้เสียหายจะต้องฟ้องหน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่และให้หน่วยงานต้นสังกัดไปไล่เบี้ยกับเจ้าหน้าที่ผู้นั้น
ข้อที่ 2 ในกรณีที่เกิดการละเมิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานใดของรัฐ จะต้องให้หน่วยงานใดรับผิดชอบ ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
เฉลย 2. กระทรวงการคลัง
คำอธิบาย ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ทำการละเมิด ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานใดของรัฐ จะต้องให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
6. ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 ในส่วนของความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
ข้อที่ 1 กรณีในข้อใดต่อไปนี้ จัดว่ามีความผิดฐานยักยอกทรัพย์
เฉลย 2. เจ้าหน้าที่ ส ไม่ยอมส่งมองเงินให้แก่เจ้าหน้าที่ทางการเงินของหน่วยงานรัฐ
คำอธิบาย ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฏหมายอาญา พ.ศ. 2499 มาตรา 147 คือการที่เจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์มาเป็นของตนหรือยักยอกไปให้ผู้อื่นโดยทุจริต
ข้อที่ 2 ในประมวลกฏหมายอาญา คำว่า “โดยทุจริต” หมายถึงข้อใด
เฉลย 2. แสวงหาประโยชน์ที่มีควรได้โดยชอบด้วยกฏหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
คำอธิบาย ตามประมวลกฏหมายอาญา พ.ศ. 2499 คำว่า “โดยทุจริต” ตรงกับความหมายที่ว่า ‘แสวงหาประโยชน์ที่มีควรได้โดยชอบด้วยกฏหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น’
สำหรับน้องคนไหนที่อยากได้แนวข้อสอบ ก.พ. รวมทุกวิชา สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ >> แจกฟรี! แนวข้อสอบ ก.พ. พร้อมเฉลย รวมทุกวิชา ครบ จบ ในที่เดียว!
เทคนิคเตรียมตัวก่อนทำข้อสอบกฎหมาย ก.พ.
ในการทำข้อสอบกฎหมาย ก.พ. หรือที่เรียกว่า วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดีนั้น เป็นวิชาที่หลายๆ คนค่อนข้างกังวลว่าจะทำได้หรือไม่ เนื่องจากมีเนื้อหาที่เยอะ และจับจุดการอ่านหัวใจสำคัญของแต่ละหัวข้อไม่ถูกเพราะฉะนั้นวันนี้พี่บัสจะแนะนำวิธีการเตรียมตัวสอบ ก.พ. พร้อมกับเทคนิคการทำข้อสอบอย่างไรให้แม่น ชัวร์ และกระชับที่สุดของการทำข้อสอบวิชากฎหมาย ก.พ. กันครับ
1. ศึกษาขอบเขตเนื้อหาและกฎหมายที่จะออกสอบ
ในการสอบก.พ. โดยเฉพาะวิชากฎหมายที่เป็นรูปแบบการจำนั้น น้องๆต้องศึกษาเนื้อหาและดูอัตราส่วนการออกสอบแต่ละหัวข้อ เพื่อที่จะได้อ่านได้ตรงประเด็นและรู้หลัก ใจความสำคัญของแต่ละเรื่องที่ออกสอบ
2. ฝึกทําข้อสอบกฎหมาย ก.พ.
ขั้นตอนต่อมาที่ถือว่าสำคัญมากๆก็คือ การฝึกทำข้อสอบกฎหมาย ก.พ. ทั้งข้อสอบเก่าและศึกษาหาแนวข้อสอบกฎหมายใหม่ๆ เพื่อเป็นการทดสอบความเข้าใจและความจำของน้อง ร่วมกับการลองทำข้อสอบแบบจับเวลาด้วย จะได้เกิดความคุ้นชินกับโจทย์และสถานการณ์ต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นในห้องสอบ
3. ลงคอร์สติวสอบกฎหมาย ก.พ.
และสิ่งสุดท้ายที่พี่บัสอยากจะแนะนำคือ ให้น้องๆ ลงคอร์สติวสอบ ก.พ. เพื่อกระชับเนื้อหา และเน้นจุดสำคัญที่จะเจอในข้อสอบกฎหมาย ก.พ. จะได้เป็นการเป็นการฝึกทำข้อสอบกฎหมาย ก.พ. แบบตรงจุด
ซึ่งน้องๆสามารถลงติวคอร์สเรียนกับทาง Guru Academy ได้ โดยเป็นคอร์สติวสอบ ก.พ. แบบออนไลน์ ทำให้น้องสามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา อีกทั้งยังมีการอัปเดตข้อมูล ข่าวสารใหม่ๆ ตลอดเวลาเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้สอบเอง
รวมถึงมีการอัปเดตและติวกันอย่างเข้มข้นสำหรับเนื้อหาข้อสอบกฎหมาย และที่สำคัญมีการแนะแนวข้อสอบกฎหมาย ที่อาจจะออกสอบพร้อมกับเฉลยอย่างละเอียดในคอร์สอีกด้วย
ข้อสรุป
สำหรับการสอบก.พ. ในรอบนี้ หากใครที่กำลังกังวลหรือกลัวว่าจะทำข้อสอบกฎหมาย ก.พ. ไม่ได้ พี่บัสขอแนะนำให้น้องๆทุกคน ค่อยๆอ่านและทำความเข้าใจกับเนื้อหาของกฎหมาย
หากน้องคนไหนอยากจะเน้นประเด็นสำคัญและเพิ่มเติมเนื้อหาที่ตนเองยังไม่มั่นใจ รวมถึงการฝึกทำแนวข้อสอบกฎหมาย ก.พ. ใหม่ๆ พี่บัสแนะนำให้มาติวกับทาง Guru Academy ก็เป็นอีกตัวเลือกที่ดีทีเดียว เพราะน้องๆจะได้สอบผ่านก.พ. ภาค ก. ไปได้อย่างสบายๆ ตามเกณฑ์ที่สำนักงานข้าราชการพลเรือนที่กำหนดไว้ เพื่อเป็นการเปิดประตูเส้นทางสู่การเป็นข้าราชการในอนาคตครับ